กุ้งเหยียด เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านของชุมชนบ้านสาขลา ที่ตั้งอยู่ริมคลองสาขลาซึ่งเป็น คลองที่แยกออกมาจากคลองสรรพสามิตในเขต
ต.นาเกลือ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ สภาพพื้นที่ของชาวบ้านสาขลานี้ส่วนใหญ่ถูกขุดขึ้นเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง
เนื่องมาจากเลี้ยงกุ้งได้ง่าย เดิมกุ้งเหยียดเริ่มจากการทำเพื่อรับประทานกันเองในบ้าน โดยในขณะนั้นยังไม่ได้ใช้ชื่อเรียกว่า กุ้งเหยียด
การทำกุ้งเหยียดสมัยก่อนเป็นการนำกุ้งที่เลี้ยงไว้มาต้มให้สุกและใส่น้ำตาลเพื่อเพิ่ม ความหวาน หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในชื่อของ กุ้งเชื่อม หรือ กุ้งหวาน แล้วแต่ลักษณะในการเรียก ตามภูมิภาค ด้วยรสชาติความหอมหวานและสีสันแดงสดของกุ้งที่ดูน่ารับประทาน ทำให้ชาวบ้าน เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กุ้ง และสามารถยืดอายุการเก็บรักษาให้ยาว นานมากยิ่งขึ้น ชาวบ้านเลยนำเอากุ้งที่มีอยู่มาแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและนำไปขายให้กับ ผู้บริโภคโดยใช้ชื่อเรียกว่า กุ้งเหยียด
การทำกุ้งเหยียดสมัยก่อนเป็นการนำกุ้งที่เลี้ยงไว้มาต้มให้สุกและใส่น้ำตาลเพื่อเพิ่ม ความหวาน หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในชื่อของ กุ้งเชื่อม หรือ กุ้งหวาน แล้วแต่ลักษณะในการเรียก ตามภูมิภาค ด้วยรสชาติความหอมหวานและสีสันแดงสดของกุ้งที่ดูน่ารับประทาน ทำให้ชาวบ้าน เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กุ้ง และสามารถยืดอายุการเก็บรักษาให้ยาว นานมากยิ่งขึ้น ชาวบ้านเลยนำเอากุ้งที่มีอยู่มาแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและนำไปขายให้กับ ผู้บริโภคโดยใช้ชื่อเรียกว่า กุ้งเหยียด
วิธีการทำกุ้งเหยียด
1. คัดขนาดของกุ้งให้ได้ขนาดเดียวกันที่สำคัญคือกุ้งต้องสด
จากนั้นนำมาล้างน้ำให้ผิวของ กุ้งดูขาวสะอาดเป็นอันใช้ได้
3.
เรียงกุ้งใส่หม้อทีละตัว จับกุ้งเรียงเป็นชั้นๆซ้อนกันขึ้นไปในหม้อ จัดเรียงกุ้งเป็นแถวประมาณ 4-5 ชั้น สลับกับการเติมน้ำตาลและเกลือในแต่ละชั้น
4. พอโรยน้ำตาลทรายในชั้นบนสุดแล้วให้เอาฝาปิดให้มิด ใช้ฝาที่ไม่มีหูจับแล้วเอาขอนไม้ หรือเขียงวางทับที่บนฝาหม้อเพื่อไม่ให้กุ้งตัวงอ
5. กุ้งเหยียดนั้นต้มโดยไม่ต้องเติมน้ำ เพราะเมื่อต้มไปสักระยะหนึ่งน้ำในตัวกุ้งจะคายออก
มาเอง น้ำที่ออกมาจากตัวกุ้งจะทำให้กุ้งมีรสชาติหวานเพราะความสดของกุ้ง ต้มกุ้งจนน้ำใกล้หมด แต่ยังไม่ถึงกับแห้งสนิทก็เป็นอันใช้ได้ ใช้เวลาในการต้มประมาณ 40-50 นาที
6. เมื่อต้มกุ้งเสร็จ รอจนหายร้อนก็สามารถรับประทานได้ กุ้งเหยียดสามารถรับประทานได้
ทั้งเนื้อและเปลือก รสชาติของกุ้งเหยียดจะหอมและหวาน ตัวกุ้งมีลักษณะกรอบนอกถือเป็นอาหาร
และของฝากที่ขึ้นชื่อของบ้านสาขลา กุ้งเหยียดเป็นสินค้า OTOP 4 ดาวที่สร้างรายได้และชื่อเสียง
ให้กับชุมชนบ้านสาขลา
การริเริ่มการทำกุ้งเหยียด
ภาพ : ลุงกา พุฒสุข |
นายกา พุฒสุก อายุ 67 ปี หรือที่ชาวบ้านในชุมชนเรียกกันว่า ลุงกา
ซึ่งลุงกาเป็นผู้ที่ สืบทอดขั้นตอนการทำกุ้งเหยียดเป็นรุ่นแรกๆของบ้านสาขลา
การทำกุ้งเหยียดได้สืบทอดการทำมา จากรุ่นของแม่ลุงกา ซึ่งตอนนั้นไม่ได้คิดชื่อว่าเป็นกุ้งเหยียดแค่ต้มกุ้งขายในตลาดตามปกติ
แต่ด้วย เวลาต้มกุ้งพอต้มนานๆเข้าการเดือดของน้ำทำให้ตัวกุ้งมีการเคลื่อนที่ จนทำให้บางครั้งกุ้งดันฝาหม้อ ที่ปิดทับตัวกุ้งไว้ขณะต้มร่วงหล่นลงมา
จึงนำครกหินมาวางทับฝาหม้อไว้ ลักษณะของกุ้งหลังต้ม โค้งง้อปกติแต่บางตัวก็มีลักษณะค่อนข้างเหยียดๆบ้าง
สันนิษฐานว่ากุ้งที่มีลักษณะเหยียดเพียง ไม่กี่ตัวนั้นอาจจะเป็นตัวกุ้งที่ได้รับการกดทับจากครกหินที่นำมากดทับฝาหม้อไว้
แต่เพราะเห็นว่ากุ้งบางตัวที่มีลักษณะเหยียดดูแปลกและเป็นที่สะดุดตา หลังจากนั้นลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้งจน ทำกุ้งเหยียดสำเร็จ
หลังจากนั้นลุงกาได้เปิดร้านลุงกากุ้งเหยียดขึ้นที่ปากทางเข้าชุมชนบ้านสาขลา
นับเป็นร้าน แรกที่เริ่มทำกุ้งเหยียดขาย โดยเปิดขายมาเป็นเวลาประมาณ 50 ปี ซึ่งในปัจจุบันมีลูกสาวของ ลุงกาเป็นผู้สืบทอดกิจการกุ้งเหยียดซึ่งก็คือ นางจันทร์แรม สำเภาทอง ที่ผ่านมาลุงกาได้แบ่งปัน เคล็ดลับรสชาติความอร่อย และวิธีการทำกุ้งเหยียดให้แก่ผู้ที่สนใจในละแวกนั้นอีกด้วย
คลิป สัมภาษณ์
โดย : นางสาว วัลย์วิมล อุษานภวิถี
ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจาก : http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9560000143920 ,
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า. |
ขออนุญาตใช้ข้อมูลทำงานส่งอาจารย์ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
ตอบลบ